ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ นครปฐม
เผยแพร่เมื่อ August 16, 2024
ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ ได้รับการเรียกขานอีกนัยหนึ่งว่า “บ้านเก่า เหล่าเต๊งไม้” เป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำท่าจีนตอนบน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ปัจจุบันสภาพตลาดบางหลวงยังคงความงดงามของสถาปัตยกรรมและบรรยากาศของตลาดเก่าแก่ริมน้ำท่าจีน ลักษณะ เป็นเรือนไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากันเรียงรายต่อกันด้านละ 130 ห้อง ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ ถือเป็นตลาดเก่าอีกแห่งที่ยังสามารถคงความสมดุลระหว่างวิถีชุมชนและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
ในอดีตเดิมชื่อตลาดบางหลวง เป็นแหล่งค้าขายทางน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอบางเลน เพราะมีท่าเทียบเรือหลายท่าสำหรับขนถ่ายสินค้าทางการเกษตร มีบริษัทสุพรรณขนส่งให้บริการเดินเรือจากสุพรรณบุรีไปยังสถานีรถไฟงิ้วราย อ.นครชัยศรี เพื่อเดินทางระหว่างหมู่บ้านหรือเข้ากรุงเทพฯ ต่อมามีการสร้างถนน การสัญจรทางน้ำลดลง รถยนต์เข้ามาแทนที่เรือ ทำให้การค้าขายสินค้าทางน้ำ เริ่มซบเซาลง แต่การค้าขายของชาวตลาดบางหลวงก็ยังคงอยู่ และยังคงรักษาเอกลักษณ์ด้านต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นร้านขายยา ร้านทำฟัน ร้านทำทอง ร้านตีมีด ร้านกาแฟสมัยก่อน ฯ
ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ ได้ถูกพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถมาชมบรรยากาศของตลาดเก่า ชิมของหวาน เยี่ยมชมสถานที่ใช้ถ่ายทำละครหลายเรื่อง สักการะเทพเจ้าที่โรงเจบ้วนฮกตึง พักผ่อนที่แพริมน้ำท่าจีน และให้อาหารปลาตะเพียนทอง ปลาสังขวาส
ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ. 2554 ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ อาจดูซบเซาลงไปบ้าง แต่ก็ยังเปิดรับนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมได้เหมือนเดิม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
ตลาดบางหลวง
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Bang Luang Market , Bang Luang Floating Market
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
ที่อยู่ :
ซอย เทศบาล 7 ตำบล บางหลวง
ข้อมูลอ้างอิง :
เว็บไซต์เทศบาลตำบลบางหลวง
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ :
กิจกรรมแนะนำ
1
เดินเล่นชมตลาดบางหลวง
ตัวตลาดเป็นทางเดินยาวราว 300 เมตร ขนาบซ้ายขวาด้วยบ้านเรือนแถวไม้แบบโบราณ ตลอดทางในช่วงวันหยุดจะมีของขายริมทางให้เลือกซื้อหา เริ่มตั้งแต่ร้านอาหารตรงหัวมุม ลิ่มฮ่อฮะ บรรยากาศแบบโบราณ ที่มีราดหน้าฮ่องเต้เป็นเมนูหลักครบเครื่องทะเล เมื่อเดินเข้ามาด้านในก็สามารถหาซื้ออาหารเอกลักษณ์ของชาวบางหลวง อาทิ ขนมเปี๊ยะสูตรจีนโบราณ ข้าวเกรียบปากหม้อไส้ผักที่ไม่เหมือนใคร หมูสะเต๊ะ เป็ดพะโล้ ก๋วยจั๊บน้ำใส ขนมจีบใส้หน่อไม้และไส้ผักที่แสนอร่อย กาแฟสูตรโบราณบดเมล็ดเอง ฯ
เมื่อเดินไปจนสุดจะมีท่าน้ำ มีแพที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ จัดเป็นสถานที่ผ่อนคลาย มีเพลงฟัง และมีร้านอาหารที่อยู่ด้านใน แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของตลาดบางหลวงคือ วิถีชุมชนตามบ้านเรือนต่างๆ สังเกตดีๆที่ตลาดบางหลวงจะมีร้านตัดผมและร้านเสริมสวยแบบสมัยก่อนเยอะมาก
2
บ้านดนตรีจีน
เป็นหนึ่งในห้องแถวที่อยู่ริมตลาดบางหลวง ในสมัยก่อนคนจีนที่อาศัยค้าขายอยู่ที่ตลาดบางหลวงมักจะล้อมวงเล่นดนตรีแก้คิดถึงบ้านในเมืองจีน ดนตรีจีนที่ใช้โน้ตโบราณ ปัจจุบันในวันเสาร์อาทิตย์จะมีจัดแสดงการเล่นดนตรีจีนโดยวงดนตรีจีนคณะรวมมิตรบางหลวง หรือบางทีก็เป็นการสอนการเล่นดนตรีจีนให้กับเด็กๆที่อยู่แถวนี้เพื่อทำการฝึกฝนให้กับเด็กๆในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนให้อยู่ต่อไป
หากต้องการสนับสนุนสามารถหยอดเงินได้ตามอัธยาศัย
3
พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง
เป็นหนึ่งในห้องแถวที่อยู่ริมตลาดบางหลวง ให้สังเกตหน้าบ้านจะเป็นรถเจ๊กหรือรถเกวียนลากรับส่งคนแบบโบราณ ด้านในรวบรวมของเก่าที่ชาวบางหลวง เคยเกี่ยวข้องหรือผูกพันกันมาแต่เก่าก่อนนำออกมาแสดงให้แก่ผู้เยี่ยมชมให้หวลรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆของชาวตลาด อาทิ จักรยานเก่า ตาชั่งและไหโบราณ เครื่องพิมพ์ดีก ปฏิทินโบราณ กรรไกรตัดหมาก เครื่องเล่นเทปโบราณ เสื้อคลุมทหารสมัยสงครามโลก ฯ
นอกจากสิ่งของเก่าแก่เหล่านี้แล้ว ที่นี่ยังอนุรักษ์การตีมีดแบบโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษชาวจีน สืบทอดมาจาก อาเหล่ากง จงนียุก คนตีเหล็กที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสยามประเทศในปี พ.ศ. 2430 และได้มาตั้งรกรากเป็นช่างตีเหล็กที่ตลาดบางหลวง ด้านในสุดมีสาธิตการหลอมเหล็กและตีเหล็กด้วยค้อนด้วยกรรมวิธีแบบโบราณเท่าที่นึกได้ภาพยนตร์จีนกำลังภายใน
ห้องแถวนี้ได้เช่าที่เพื่อทำการอนุรักษ์มรดกชุมชน นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม สามารถสนับสนุนค้ำจุน “บ้านเก่าเล่าเรื่อง” นี้ได้ด้วยการบริจาคสมทบทุนหรือซื้อของที่ระลึกที่ทำโดยการตีเหล็กแบบโบราณนี้ได้
4
ศาลเจ้าแม่ทับทิม
ตั้งอยู่ด้านในสุดของตลาดโดยอยู่ติดริมน้ำ มีสะพานแชขวนข้ามไป ศาลเจ้าแม่ทับทิมเป็นศาลเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนชาวจีน ตามตำนานเล่าว่าเจ้าแม่ทับทิมล่วงรู้ถือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงเตือนชาวเรือในการสัญจร และมีความรู้ทางการแพทย์ หลังจากนางเสียชีวิต ชาวบ้านที่เกาะเหมยโจวได้ร่วมกันสร้างศาลเล็กๆพร้อมยกย่องให้เป็น “เทพธิดาแห่งสมุทร” ชุมชนจีนใดที่มีการค้าขายริมน้ำ มักจะสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมไว้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย