ทะเลน้อย (อุทยานนกน้ำทะเลน้อย) พัทลุง

เผยแพร่เมื่อ August 27, 2024

แหล่งท่องเที่ยวสตูล : ทะเลน้อย (อุทยานนกน้ำทะเลน้อย) 

ทะเลน้อย หรือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับประเทศ เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทำให้บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ได้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ แรมซาร์ไซท์แห่งแรกของประเทศ

ทะเลน้อย หรือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย นั้นประกอบด้วยพื้นที่ป่าพรุ ทุ่งหญ้า นาข้าว พื้นน้ำ และป่าดิบชื้น ทำให้พื้นที่บริเวณทะเลน้อยเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่ และเป็นที่อยู่อาศัยของนกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนกท้องถิ่นและนกอพยพ นักท่องเที่ยวมักนิยมเช่าเหมาเรือเพื่อชมนกนานาพันธุ์ หรือดูธรรมชาติรอบๆทะเลน้อย ชมวิถีชีวิตชาวประมงน้ำจืด และที่สำคัญคือการนั่งเรือเพื่อชมบัวสายที่มีความงดงามออกดอกชมพูบานสะพรั่งทั่วผืนน้ำ ซึ่งเป็นไฮไลต์ของการมาที่ทะเลน้อยแห่งนี้เลยทีเดียว

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้นั่งเรือ บริเวณทะเลน้อยยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการขับรถบนถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศ ข้ามรอยต่อทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา มีทิวทัศน์ที่สวยงามและยังมีโอกาสได้เห็น “ควายทะเล” หรือควายปลักที่หากินโดยการมุดลงไปในน้ำ และยังมี OTOP ขึ้นชื่อของทะเลน้อย คือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระจูดให้ได้หาซื้อกันเป็นของฝากอีกด้วย

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

ทะเลน้อย

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Thale Noi Waterfowl Reserve

ที่อยู่ :

ข้อมูลอ้างอิง :

เว็บไซต์สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , wikipedia , เว็บไซต์สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลน้อย , สำนักงานจังหวัดพัทลุง

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

จากนครศรีธรรมนราช วิ่งมาตามทางถนนสาย 41 เข้าอำเภอควบขนุน จะเจอแยกซ้ายไปเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ให้เลี้ยวซ้ายแล้วไปตามทางประมาณ 17.5 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย)หากมาทางเมืองพัทลุง ให้วิ่งไปตามถนนอภัยบริรักษ์ 7 กม.เลี้ยวซ้ายที่ตลาดลำปำเข้าสู่ถนนลำปำ-ทะเลน้อย อีก 12 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานข้ามคลองปากประ ข้ามสะพานไปก็จะเจอทางเข้าไปสวนพฤกษศาสตร์พัทลุงให้ตรงต่อไปตามถนนอีก 9 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาก็ถึงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ :

มีรถประจำทางแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (กรุงเทพฯ)ทุกวัน จากพัทลุงจะต้องนั่งรถสองแถวไปยังทะเลน้อย (มีคิวรถสองแถว พัทลุง-ทะเลน้อยอยู่ใกล้สถานีรถไฟ)โดยใช้เส้นทางหลวงสาย 4048 ผ่านอำเภอควนขนุน ตลาดปากคลอง สุดปลายทางที่ทะเลน้อย เป็นระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อปี 2014 )

การเดินทางโดยทางเรือ :

จากบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ค่าบริการเรือนำเที่ยวลำละ 500 บาท นั่งได้ประมาณ 10 คน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสามารถติดต่อเรือที่รีสอร์ทบริเวณคลองปากประ ค่าเรือจะแพงกว่าประมาณ 2 เท่า

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อปี 2014 )

กิจกรรมแนะนำ

1

ชมทุ่งดอกบัวสีชมพู ทะเลสีหวานกลางพัทลุง

บึงบัวที่ทะเลน้อยนั้นนับว่ามีความสวยงามน้องๆไม่แพ้ทุ่งดอกบัวที่บึงหนองหานที่ขึ้นชื่อจังหวัดอุดรธานีเลยทีเดียว ที่ทะเลน้อยมีพื้นที่บริเวณพื้นน้ำเหมาะแก่การขึ้นของพืชพรรณไม้น้ำที่หลายชนิด เช่น กง สาหร่าย กระจูด ผักตบ รวมไปถึงดอกบัวสายที่ขึ้นกันอยู่เป็นทุ่งสวยงามโดยเฉพาะช่วงเช้าๆ จุดชมดอกบัวนั้นจะกระจายตัวอยู่ทั่วไปในทะเลน้อย แต่จุดที่มีดอกบัวมากคือบริเวณทางทิศตะวันตก ติดกับท่าขึ้นเรือของทะเลน้อย นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถนั่งเรือชมทะเลดอกบัวได้อย่างใกล้ชิด หรือชมจากบนฝั่งก็ได้

2

แหล่งดูนกน้ำที่สำคัญของพัทลุง

ที่ทะเลน้อยนี้นับว่าเป็นแหล่งดูนกชั้นดี เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารและทำรังของนกชนิดต่าวๆ นกที่พบเห็นได้บริเวณทะเลน้อย มีอย่างน้อย 217 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกน้ำ เป็นนกประจำถิ่นอย่างน้อย 121 ชนิด นกอพยพที่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์ 85 ชนิด นกที่อพยพผ่านตามฤดูกาล 11 ชนิด

นกที่พบมากที่สุดในทะเบน้อยคือ นกยาง (Egretta spp.)  รองลงมาได้แก่ นกกาน้ำเล็ก (Phalacrocorax niger) นกกระสาแดง และเป็ดแดง (Dendrocygna javanica)  นอกจากนั้นยังมีนกที่พบอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ นกยางไฟหัวเทา (Ixobrychus eurhythmus) เหยี่ยวดำ (Milvus migrans) นกซ่อมทะเลอกแดง (Limnodromus semipalmatus)  นกแอ่นทุ่งใหญ่ (Glareola maldivarum)  นกหัวโตมลายู (Charadrius peronii) เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (Polihierax insignis) นกตะกรุม (Leptoptilos javanicus) เป็ดดำหัวดำ (Aythya baeri) นกกระทุง (Pelecanus philippensis)   นกตะกรุม นกกระทุง  เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา (Ichthyophaga ichthyaetus)   นกกระสานวล (Ardea cinerea) นกกระสาแดง (A. purpurea) นกกาบบัว (Mycteria ceucocephala) นกช้อนหอยขาว (Threskiornis melanocephalus) เหยี่ยวดำ (Milvus migrans) เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา (Icthyophaga nana) นกหัวโตมลายู (Charadrius peronii) และนกทะเลขาเขียวลายจุด (Tringa guttifer)   เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว   นกยางลายเสือ (Gorsachius melanolophus) นกยางไฟหัวเทา (Ixobrychus eurhythmus) เป็ดลาย (Anas querquedula) นกออก (Haliaeetus leucogaster) นกอีลุ้ม (Gallicrex cinerea) นกเงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) นกแอ่นกินรัง (Aerodramus fuciphagus) นกแอ่นหางสี่เหลี่ยม (A. maximus) นกจาบธรรมดา (Ploceus phillippinus

3

ซุ่มดูควายน้ำหรือควายทะเลที่ทะเลน้อย

“ควายน้ำ” และเรียกว่า “ควายทะเล” เป็นชื่อเรียกทั่วๆไปของการมาชมฝูงควายที่ทะลน้อย แต่ที่จริงควายบริเวณนี้คือ “ควายปลัก” หรือควายไทยที่ปรับตัวใช้ชีวิตให้เข้ากับพื้นที่ทะเลน้อย กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่คนที่มาทะเลน้อยต้องขอมาชม ซึ่งนอกจากชอบแช่น้ำแล้ว ยังสามารถดำน้ำลงกินหญ้าที่จมอยู่ใต้น้ำได้ โดยเฉพาะช่วงน้ำหลากประมาณปลายฝนต้นหนาวจนถึงช่วงฤดูหนาว กลายเป็นภาพที่แปลกตาตัดกับทิวทัศน์ที่สวยงาม ควายบริเวณทะเลน้อยนี้เป็นควายเลี้ยงของชาวบ้านที่ออกหากินอย่างอิสระ  ออกหากินช่วงเช้าจนถึงเย็นๆ

นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมควายทะเลน้อยอย่างใกล้ชิด บริเวณทุ่งแหลมดิน ซึ่งแล้วแต่จังหวะและอุปนิสัยซึ่งกะจังหวะเวลาได้ไม่แน่นอน แต่ถ้าหากพลาดในการนั่งเรือดูฝูงคลายลงน้ำ ก็สามารถจอดรถแวะเก็บภาพฝูงควายเล่นน้ำที่ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งเป็นสะพานข้ามรอบต่อทะเลน้อยกับทะเลสาบสงขลา

4

ขับรถบนสะพานชมธรรมชาติสองทะเล สะพานที่ยาวที่สุดในไทย

ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นถนนที่เชื่อมต่ออำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กับอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา  สร้างตามแนวระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวงของทะเลสาบสงขลา เดิมชื่อถนนสายบ้านไสกลิ้ง – บ้านหัวป่า  ถนนนี้แบ่งเป็นสามช่วง แต่ช่วงที่โดดเด่นคือช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นทางยกระดับระยะทาง 5.450 กิโลเมตร ผ่านคลองนางเรียมที่เชื่อมระหว่างทะเลน้อยกับทะเลสาบสงขลา ถนนช่วงนี้จึงนับว่าเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแทนที่สะพานติณสูลานนท์ นักท่องเที่ยวมักมีโอกาสเห็นฝูงควายน้ำที่เลี้ยงไว้ได้จากบนถนนลอยฟ้านี้  ช่วงเย็นๆพระอาทิตย์ตกมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก

5

พื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน แรมซาร์ไซท์ที่แรกของไทย

พื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียน   มีเขตติดต่อกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ควนขี้เสียน บริเวณนี้จัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติแห่งแรกของประเทศ มีความสำคัญระหว่างประเทศในอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ  ( Ramsar site ) อยู่ภายใต้องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สำหรับระดับนานาชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียนจัดอยู่ที่ลำดับที่ 948 มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 0-2 เมตร   ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียนมีความเสี่ยงเพราะถูกคุกคามจากการทำสวนปาล์ม สอบถามเรือในการเดินทาง ข้อควรระวังบริเวณนี้มีปลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

6

เดินเล่นชมทะเลน้อยจากริมฝั่งและศาลากลางน้ำ

นักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการลงเรือ สามารถเดินชมทะเลน้อยจากบนฝั่ง โดบบริเวณอาคารที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยตั้งเรียงรายอยู่ในน้ำ จะมีสะพานเชื่อมถึงกัน ส่วนหากนั่งเรือห่างฝั่งออกไปทางตะวันออกจะมีศาลานางเรียมกลางน้ำเหมาะแก่การนั่งพักผ่อนหย่อนใจกลางทะเลน้อย

7

ชอปผลิตภัณฑ์จากกระจูด สินค้า OTOP ของทะเลน้อย

กระจูดนั้นคือพืชตระกูลเดียวกับกก ชอบขึ้นในบริเวณพื้นที่พรุ หรือพื้นที่ๆมีน้ำขังตลอดเวลา มีสภาพเป็นดินโคลน สามารถนำตากแห้งเพื่อมาสานเสื่อ ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด และผลิตภัณฑ์สานต่างๆ ในจังหวัดพัทลุงแหล่งวัตถุดิบจะมีเฉพาะที่หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จากเดิมชาวบ้านบริเวณนี้ที่เคยทำอาชีพประะมงก็ได้หันมาทำผลิตภัณฑ์จากกระจูดเพื่อจำหน่ายจนเป็นสินค้าขึ้นชื่อของทะเลน้อย ครัวเรือนบริเวณนี้เกือบทั้งหมดจึงมีการปลูกไร่กระจูดเป็นของตัวเอง

นักท่องเที่ยวที่สนใจศึกษาดูงานการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มบ้านต้นกระจูด (www.bantoonkrajud.com) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโรงฟางหรือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลายตรอกรวมใจ (074 685299)

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย