วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
เผยแพร่เมื่อ August 22, 2024
วัดกลางบางแก้วเป็นวัดโบราณริมแม่น้ำท่าจีน ภายในมีโบสถ์ วิหาร และพระประธานที่เก่าแก่ เชื่อกันว่าวัดกลางบางแก้วนั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือตอนปลายของยุคอู่ทอง เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยอดีต ภายในมี “พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก” เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุล้ำค่าต่างๆ มีพระประธานในอุโบสถคือหลวงพ่อโต นอกจากนั้นยังมีจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถและภาพจิตรกรรมฝาไม้สักทองด้านในหอไตรที่งดงาม
คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีมักเรียกวัดกลางบางแก้วว่า วัดกลาง เพราะตั้งอยู่ปากคลองบางแก้ว ที่เรียกว่า “วัดกลางบางแก้ว” นั้นเป็นเพราะว่าในละแวกนั้นมีวัดใกล้เคียงอีกสองวัดซึ่งมีอาณาเขตวัดติดต่อกันคือวัดใหม่สุปดิษฐารามและวัดตุ๊กตา วัดนี้ยังเคยถูกเอ่ยถึงในนิราศพระแท่นดงรังของสุนทรภู่ในคราวที่ท่านได้ออกเดินทางผ่านปากคลองบางแก้วไปนมัสการพระแท่นดงรังอีกด้วย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
วัดกลางบางแก้ว
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Wat Klang Bang Kaew
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น.
ที่อยู่ :
วัดกลางบางแก้ว หมู่ที่ 3 ต.นครชัยศรี
ข้อมูลอ้างอิง :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
จากศาลายา วิ่งเข้าทางหลวงชนบทนครปฐม 4006 ทางไปคลองมหาสวัสดิ์ เส้นทางจะขนานกับถนนบรมราชนนี ตรงมาก่อนข้ามแม่น้ำท่าจีน จะมีสามแยกเล็กๆ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปข้ามสามแยกอีกอันหนึ่งก็จะเห็นสะพานข้ามคลองบางแก้ว ข้ามสะพานไปวัดกลางบางแก้วจะอยู่ทางซ้ายมือหรือจากถนนเพชรเกษม เมื่อลอดใต้สะพานยกระดับปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ชิดขวา เพื่อใช้ทางยกระดับไปอ.นครชัยศรี ตรมาจะถึงแยกไฟแดงที่เป็นตลาดท่านา เลี้ยวขวาและซ้ายเข้าซอยอีกที ตรงไปข้ามสะพานแม่น้ำท่าจีน เลี้ยวขวาเมื่อผ่านสะพานข้ามคลอง วัดกลางบางแก้วจะอยู่ทางซ้ายมือหรือ จากเส้นปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ให้กลับรถใต้สะพานยกระดับตรงที่ตัดกับถนนเพชรเกษม ประมาณ 300 เมตร ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถ.พุทธมณฑลสาย 8 ก่อนข้ามสะพานแม่น้ำท่าจีน เลี้ยวซ้ายไปทางโรงพยาบาลนครชัยศรี ตรงไปวัดกลางบางแก้วจะอยู่ทางขวามือ
กิจกรรมแนะนำ
1
ชมอาคารพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก
เวลา :
วันพฤหัสบดี - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม :
ผู้ใหญ่ราคา 20 บาท / นักเรียนนักศึกษาราคา 10 บาท
พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก จัดเก็บรักษาโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุล้ำค่าต่างๆ รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ของอดีตเจ้าอาวาส 2 รูป คือ หลวงปู่บุญ หรือ ท่านเจ้าคุณพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) และหลวงปู่เพิ่ม พระพุทธวิถีนายก(เพิ่ม ปุญญวสโน) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญและสืบตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดต่อมา ภายในแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย