วัดตึก อยุธยา
เผยแพร่เมื่อ September 2, 2024
สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา : วัดตึก
วัดตึกเป็นวัดราษฎร์ เดิมเป็นตำหนักของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ เมื่อคราวเสด็จไปประทับ ณ วังจันทร์เกษม (วังหน้า) จึงสถาปนาตำหนักเดิมเป็นพุทธวาส ประทานนามว่า “วัดตึก” วัดตึกคงเป็นวัดร้างจนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีผู้มีจิตศรัทธาปฏิสังขรณ์จนถึงปัจจุบันวัดตึกยังคงเป็นวัดที่ได้รับการพัฒนาและยังคงมีผู้มีจิตศรัทธาเดินทางมาทำบุญอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
วัดตึก
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Wat Tuek
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการทุกวัน
ที่อยู่ :
หมู่ 1 ถนนอู่ทอง ตำบลท่าวาสุกรี
ข้อมูลอ้างอิง :
โบรชัวร์
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
อยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ให้วิ่งมาบนถนนอู่ทองผ่านเจดีย์พระศรีสุริโยทัยที่อยู่ด้านขวา เลยไปไม่ไกลจะเห็นทางเข้าวัดตึกขวามือ
กิจกรรมแนะนำ
1
ตำหนักพระเจ้าเสือ
ตำหนักพระเจ้าเสือ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) พระองค์ท่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงมีพระสมัญญานามว่า “เสือ” ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษอย่างเด็ดขาด
2
ศาลพันท้ายนรสิงห์
ศาลพันท้ายนรสิงห์ อยู่ด้านหน้าอุโบสถ ตามประวัติในอดีตพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ วันหนึ่งพระเจ้าเสือได้เสด็จประพาสต้นด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัยมาตามคลองโคกขามโดยมีพันท้ายนรสิงห์เป็นพันท้ายเรือ คลองนี้คดเคี้ยวและน้ำเชี่ยวมากไม่สามารถบังคับทิศทางเรือได้ทำให้หัวเรือชนเข้ากับต้นไม้จนหัวเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงขอให้พระเจ้าเสือประหารชีวิตตนตามพระราชกำหนดในบทพระอัยการ พระเจ้าเสือจึงจำต้องยอมตามพันท้ายนรสิงห์ และทรงโปรดเกล้าให้ทำศาลขึ้น ณ ที่ดังกล่าวสูงประมาณเพียงตาไว้
ศาลพันท้ายนรสิงห์จึงเป็นอนุสรณ์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฏระเบียบ กฏมณเฑียรบาลยิ่่งกว่าชีวิตตน
3
โบสถ์มหาอุตม์
โบสถ์มหาอุตม์เรียกตามลักษณะทางเข้าที่พิเศษกว่าลักษณะอื่น คือมีทางเข้าออกเพียงด้า
นเดียว ไม่มีหน้าต่าง เหตุผลของการสร้างโบสถ์แบบนี้เชื่อกันว่าเป็นเพราะช่างต้องการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังตลอดต่อเนื่องกันทั้งโบสถ์โดยไม่มีหน้าต่างมาคั่น บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของการเป็นสถานที่ถ่ายทอดหรือกระทำการเรื่องมนต์คาถา เพื่อไม่ให้วิชารั่วไหลและมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ปัจจุบันโบสถ์มหาอุตม์คงเหลือน้อยมากในประเทศไทย ถือได้ว่าเปศาสนโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง
พระพุทธรูปองค์พระประธานในโบสถ์มหาอุตม์ของวัดตึกแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชย มีขนาดใหญ่
4
สักการะพระพุทธเจ้าปางปรินิพพาน
อยู่ที่ด้านข้างตำหนักพระเจ้าเสือ สามารถร่วมบรรจุพระ-แผ่นดวงใต้ฐานองค์พระ หากมีเวลายังสามารถเข้าไปชมบ่อน้ำศักดิ์โบราณที่หลังตำหนักพระเจ้าเสือได้อีกด้วย
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย