วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา
เผยแพร่เมื่อ August 30, 2024
วัดนักบุญยอแซฟเป็นศูนย์กลางของมิสซังสยาม ในปี พ.ศ. 1662 พระสังฆราชปีแอรฺลังแบรต์ เดอ ลาม็อต 1 ในจำนวนมิชชันนารี 7 คน ที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสำหรับภาคตะวันออกไกล ซึ่งเวลานั้นในดินแดนแถบนี้ ยังไม่ได้เป็นดินแดนมิสซังจึงยังไม่มีพระสังฆราชองค์ใดมาปกครอง อันที่จริงกรุงศรีอยุธยาไม่ใช่จุดหมายปลายทางของธรรมทูตคณะนี้ แต่แคว้นตังเกี๋ย แคว้นโคชินไชนา และจีน ไม่สามารถจะดั้นด้นเข้าไปได้ เพราะดินแดนเหล่านี้ กำลังถูกเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง
ในขณะนั้นคือเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อราชสำนักทราบข่าวจึงงปรารถนาใคร่จะพบปะ ทางคณะจึงได้เข้าเฝ้าทั้งๆที่ในขณะนั้นการเข้าเฝ้าตามประเพณีไทยอนุญาตให้เฉพาะคณะทูตเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการเท่านั้น พระสังฆราชลังแบรต์รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุญาตให้ท่านพำนักอยู่ในราชอาณาจักรสยาม พระราชทานที่ดินและวัสดุต่างๆ เพื่อสร้างวัด ภายหลังจากที่พระสังฆราชลังแบรต์มรณภาพแล้ว พระสังฆราชลาโนได้ก่อสร้างวัดนักบุญยอแซฟหลังใหม่ให้เป็นการถาวร ปัจจุบันเป็นวัดหลังที่ 4
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
วัดนักบุญยอแซฟ
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Saint Joseph Catholic Church, Ayutthaya
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ที่อยู่ :
วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา 30 หมู่ 11 ต.สำเภาล่ม
ข้อมูลอ้างอิง :
เว็บไซต์วัดนักบุญยอแซฟ
หมายเหตุ :
การเข้าโบสถ์ติดต่อขออนุญาตก่อนล่วงหน้า วันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์จะมีการร่วมพิธีมิสซาที่โบสถ์
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
จากเกาะอยุธยามาทางตะวันตก ให้ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชแล้วเลี้ยวซ้าย ตรงมาเรื่อยๆผ่านวัดไชยวัฒนารามอยู่ซ้ายมือ เลยมาจะเห็นป้ายบอกว่าโรงเรียนยอแซฟ เลี้ยวซ้ายเข้ามาตามป้าย ตรงไปตามทางจะเห็นทางเข้า เข้ามาในตัวรั้วจะพบวัดนักบุญยอแซฟ
กิจกรรมแนะนำ
1
ชมสถาปัตยกรรมภายนอกวัดนักบุญยอแซฟ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา เป็นแบบยุโรป อาคารบางส่วนเลียนแบบสถาปัตย-กรรมแบบโรมัน ลักษณะโดยรวมคล้ายสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เน้นความสวยงามที่ความแข็งแรงของโครง สร้างอาคาร ตัวอาคารหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหอคอยหรือหอระฆัง อยู่ด้านหน้าวัด
2
สถาปัตยกรรมภายในวัดนักบุญยอแซฟ และกระจกสีตามบานหน้าต่าง
ภายในอาคารของวัดนักบุญยอแซฟสามารถแบ่งส่วนการใช้งานได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนโถงสำหรับสัตบุรุษมาร่วมพิธี ผนังภายในอาคารทั้ง 4 ด้าน เป็นผนังก่ออิฐ ฉาบปูน ขัดมัน ภายใน ไม่ค่อยมีการตกแต่งลวดลายมากนัก ผนังด้านหลังประตูทางเข้าด้านหน้า ตกแต่งเป็นซุ้มโค้ง 3 ซุ้ม ซุ้มตรงกลางตกแต่งด้วยลวดลายเส้นหยักตามขอบซุ้มโค้ง 2) ส่วนมุขด้านข้างทั้ง 2 ด้าน มีความกว้างประมาณ 2.7 เมตร ลึกประมาณ 4 เมตร ภายในซุ้มมีพระแท่นหินอ่อน ตกแต่งลวดลาย และประดิษฐานรูปนักบุญยอแซฟทั้ง 2 ซุ้ม หน้าต่างด้านหลังรูปนักบุญเป็นหน้าต่างกระจกสี Stain glass หน้าต่างด้านข้างทั้ง 2 บาน เป็นบานกระจกสีลวดลาย ส่วนล่างเป็นบานเกล็ดไม้ 3) ส่วนของพระแท่นสำหรับประกอบพิธี ส่วนที่ประกอบพิธีเป็นแท่นหินอ่อนยกพื้น แท่นเป็นที่ตั้งของพระแท่นหินอ่อนสำหรับประกอบพิธี แท่นกางเขน และแท่นประดิษฐานรูปนักบุญยอแซฟ 4) องสังฆภัณฑ์ อยู่ด้านหลังซุ้มพระแท่น ห้องสังฆภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ห้องทาง ด้านขวาและด้านซ้าย และทางเข้าตรงกลางทางด้านหลังวัด ผนังด้านข้างมีบานกระจกสีด้านละ 2บาน และผนังด้านหลังมีบานกระจกสีด้านละ 1 บานและมีบันไดไม้พาดขึ้นเพื่อจะไปยังชั้นลอยขนาดเล็กด้านหลังซุ้ม ผนังภายในตกแต่งเฉพาะส่วนซุ้มของกรอบหน้าต่าง
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย