วัดบางพลีใหญ่กลาง สมุทรปราการ

เผยแพร่เมื่อ August 29, 2024

สถานที่ท่องเที่ยวสมุทรปราการ : วัดบางพลีใหญ่กลาง

วัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 มีจุดเด่นอยู่ที่พระนอนปางไสยาสน์ “พระนอนบางพลี” หรือ “สมเด็จศากยมุนีศรีสุเมธบพิตร” มีขนาดความยาวถึง 52 เมตร 50 เซนติเมตร ยาวกว่าพระนอนวัดขุนอินทประมูลที่จังหวัดอ่างทอง ส่วนความสูงๆถึง 18 เมตร สามารถเดินเข้าไปด้านในองค์พระได้ มีขนาดสี่ชั้น ชั้นบนประดิษฐานหัวใจขององค์พระนอนให้ผู้ที่มานมัสการได้ปิดทองที่หัวใจพระ

วัดบางพลีใหญ่กลางเดิมชื่อวัดกลาง เพราะตั้งอยู่ระหว่างวัดบางพลีใหญ่ใน กับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งเป็นวัดร้างเดิม

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดบางพลีใหญ่กลาง

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat Bang Phli Yai Klang

ที่อยู่ :

บ้านคลองสำโรงฝั่งเหนือ หมู่ 8 ตำบลบางพลีใหญ่

ข้อมูลอ้างอิง :

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

จากแยกบางนา ใช้เส้นทางถนนบางนา-ตราด มุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีถึงกิโลเมตรที่ 12 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางถนนบางพลี-กิ่งแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายถนนทางเข้าที่ว่าการอำเภอบางพลีไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงวัดบางพลีใหญ่กลาง

กิจกรรมแนะนำ

1

เดินในพระพุทธรูปปางไสยาสน์ “พระนอนบางพลี” ปิดทองที่หัวใจพระ

สมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร หรือ พระนอนบางพลี ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2521 เนื่องจากทางวัดบางพลีใหญ่กลาง ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาวัดบางพลีใหญ่กลางด้วยการสร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องจูงใจบุคคลทั่วไปให้หันหน้าเข้าหาวัดและเป็นที่ปฎิบัติธรรม ซึ่งเห็นว่าที่ผ่านมาไม่มีการสร้างพระพุทธไสยาสน์ จึงได้สร้างพระนอนปางไสยาสน์ให้มีขนาดความยาวกว่าพระนอนที่วัดขุนอินทประมูลที่จังหวัดอ่างทองที่มีขนาดความยาว 50 เมตร ผู้มีจิตศรัทธาสามารถเดินเข้าไปในองค์พระที่มีขนาดความสูง 4 ชั้น ทางเข้าอยู่ที่ด้านหลังองค์พระ โดยมีค่าเข้าองค์พระหยอดตู้คนละ 5 บาท

ภายในองค์พระแบ่งเป็นสี่ชั้น ชั้น 1 เป็นห้องปฎิบัติธรรมกัมมัฎฐาน รวม 28 ห้อง มีรูปหลวงปู่กิ่ม ชั้นที่ 2 และ 3  มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ นรก สวรรค์ พระโพธิสัตว ส่วนชั้นบนสุดประดิษฐานหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล ด้านบนพระเกศาบรรจุพระสาริกธาตุ

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย