วัดพนัญเชิง อยุธยา

เผยแพร่เมื่อ September 2, 2024

สถานที่ท่องเที่ยวอยุธยา : วัดพนัญเชิง

วัดพนัญเชิง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท  ชนิดวรวิหาร  แบบมหานิกาย สร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (บ้างก็ว่าก่อน) เดิมใช้ชื่อว่า  “พแนงเชิง” มีความหมายว่า  “นั่งขัดสมาธิ” เนื่องด้วย พระพุทธรูปประธานของวัด  คือ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระพุทธไตรรัตนนายก” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้วยเหตุนี้จึงขนานนามวัดตามพระพุทธลักษณะนั่นเอง บ้างก็มีการเล่าขานว่าชื่อของวัดมาจากตำนานเรื่อง  “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก”  ทุกวันนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งจากไทยและจีนต่างพากันมาที่วัดพนัญเชิงเพื่อมานมัสการองค์หลวงพ่อโตกันอย่างเนืองแน่นทุกวัน

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดพนัญเชิง

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat Phanan Choeng

เวลาเปิด - ปิด :

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.

ที่อยู่ :

วัดพนัญเชิงสรวิหาร ต.กระมัง

ข้อมูลอ้างอิง :

เว็บไซต์ของวัดพนัญเชิงวรวิหาร, wikipedia

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

 จากถนนพหลโยธิน แยกเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สามแยกอำเภอวังน้อย  ตามเส้นทางถนนสายโรจนะถึงเจดีย์ใหญ่วัดสามปลื้ม  เมื่อถึงตรงหลักกิโลเมตรที่ 1 เลี้ยวซ้ายไปตามถนน  ผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลขับต่อไปก็จะถึงวัดพนัญเชิง

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ :

หากเดินทางโดยรถไฟ ไปยังสถานีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วต่อรถประจำทาง หรือรถรับจ้างเพื่อข้ามเรือที่สถานีตำรวจป้อมเพชร ซึ่งเรียกว่า ท่าข้ามวัดสุวรรณดาราราม – วัดพนัญเชิงฯ

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อปี 2014)

การเดินทางโดยทางเรือ :

มีเรือ 3 สาย สายใต้และสายตะวันตก จะถึงวัดซึ่งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจป้อมเพชรก่อนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายเหนือจะถึงตัวจังหวัดก่อนถึงวัด

(ข้อมูลอัปเดตเมื่อปี 2014)

กิจกรรมแนะนำ

1

นมัสการพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต)

พระพุทธไตรรัตนนายก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต” คนจีนเรียก “หลวงพ่อซำปอกง” เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา และเป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในพระวิหารหลวง หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตร ในทำเนียบพระพุทธรูปกล่าวว่าสร้างมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 26 ปี แต่ไม่ได้ความว่าใครเป็นผู้สร้าง เดิมมีชื่อเรียกว่า “พระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง” จนมารัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานพระนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก”

มีเรื่องเล่าอัศจรรย์ครั้งหนึ่ง เมื่อใกล้จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึกนั้น พระพุทธปฏิมากรองค์ใหญ่ในพระวิหารหลวง(ซึ่งน่าจะหมายถึงองค์นี้) มีน้ำพระเนตรไหลออกทั้งสองข้างจรดพระนาภี เหตุนี้ประชาชนจึงมีความเคารพนับถือมากถึงหน้าเทศกาลได้ไปประชุมกันนมัสการเป็นประจำทุกๆ ปี

2

สักการะเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ซึมซาบตำนาน “เจ้าชายสายน้ำผึ้งกับพระนางสร้อยดอกหมาก”

ตำนานของเจ้าชายสายน้ำผึ้ง และพระนางสร้อยดอกหมากนี้ เป็นตำนานแห่งการสร้างวัดพนัญเชิง โดยเป็นที่มาของชื่อที่ผันได้หลาบแบบ อาทิ “วัดพระนางเชิญ”  หรือ “วัดพระนางเอาเชิง” ตามตำนานพูดถึงเด็กหญิงคนหนึ่งที่พระเจ้ากรุงจีนได้ทรงนำมาเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม โหรได้ทำนายว่าในกาลภายหน้าคู่ของนางจะเป็นกษัตริย์กรุงไทย ครั้นเวลาล่วงมาก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขณะที่กรุงไทยก็ได้อัญเชิญเด็กชายคนหนึ่งมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ขณะที่พระองค์โปรดให้ยกขบวนพยุหยาตราไปทางชลมารค พระองค์ได้สร้างปาฏิหารย์เกิดน้ำผึ้งหยดลงมากลั้วเอาเรือขึ้นไปประทับแทนกำแพงแก้ว จากนั้นพระองค์จึงถูกถวายพระนามว่า “พระเจ้าสายน้ำผึ้ง” แต่นั้นมา จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปโดยเรือพระที่นั่งเอกชัยเพียงลำเดียวจนถึงกรุงจีนจนเป็นที่อัศจรรย์ของพระเจ้ากรุงจีนจนในที่สุดอนุญาตให้พระเจ้าสายน้ำผึ้งราชาภิเษกกับพระนางสร้อยดอกหมากเป็นพระมเหสี

เมื่อเวลาผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร เมื่อถึงปากน้ำพระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อนเพื่อจัดขบวนมารับพระนางสร้อยดอกหมากจากเรือ ครั้นถึงเวลาพระองค์ไม่ได้เสด็จมาด้วยตัวเอง พระนางสร้อยดอกหมากจึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือและกล่าวน้อยใจ พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่นจึงกล่าวสัพยอกกลับ ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากเมื่อได้ฟัง ด้วยความน้อยพระทัยนางจึงกลั้นพระทัยตายทันที พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงเสียพระทัยมาก จึงทรงสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระนางสร้อยดอกหมาก และได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระนางเชิญ” แต่นั้นมา

ปัจจุบันมีผู้มาสักการะเจ้าแม่สร้อยดอกหมากที่วัดพนัญเชิงทั้งชาวไทยและชาวจีน เมื่อมานมัสการองค์หลวงพ่อโตในพระวิหารเสร็จ ก็จะต้องแวะมาสักการะที่ตุึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมากด้วย คนจีนเรียกว่า “ศาลเจ้าแม่อาเนี้ย”  ตั้งอยู่ริมน้ำด้านเหนือนอกกำแพงแก้ว   ด้วยความเชื่อกันว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมากสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้ได้สมปรารถนาดังที่ขอ ไว้ได้ทุกเรื่องทุกประการ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องของความรัก คู่ครอง และการขอบุตร

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย