วัดพระธาตุช้างค้ำ น่าน
เผยแพร่เมื่อ August 26, 2024
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือทีเรียกกันสั้นๆว่า วัดพระธาตุช้างค้ำ เป็นวัดหลวงประจำเมืองที่เจ้าเมืองใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีสำคัญของบ้านเมืองเดิมมีชื่อว่าวัดหลวงกลางเวียง พญาภูเข่งเป็นผู้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ ปัจจุบันมีอายุนับได้ราวถึง 600 ปี ตั้งอยู่บิรเวณสี่แยกใจกลางเมืองบิรเวณเดียวกับวัดภูมินทร์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ภายในวัดพระธาตุช้างค้ำมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำหรือพระธาตุหลวง เจดีย์เก่าแก่ศิลปะสุโขทัย ภายในวิหารหลวงประดิษฐาน พระเจ้าหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของเมืองน่าน
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
วัดพระธาตุช้างค้ำ
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Wat Phra That Chang Kham
ที่อยู่ :
ตำบลในเวียง
ข้อมูลอ้างอิง :
ป้ายข้อมูลภายในสถานที่
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
จากทางหลวงหมายเลข 101 (ถนนยันตรกิจโกศล) ถึงตัวเมืองน่าน เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสุริยพงษ์ ตรงมาจนถึงสี่แยกข่วงเมือง ตรงไปติดกับสี่แยกซ้ายมือคือทางเข้าวัดพระธาตุช้างค้ำ
กิจกรรมแนะนำ
1
สักการะพระเจ้าหลวงภายในพระวิหารหลวง
ภายในพระวิหารหลวงประดิษฐาน “พระเจ้าหลวง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง เป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไทยสังฆาฏิปั้นลวดลายด้านต่อศอก มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 เมตร 50 ซ.ม. สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา 6 เมตร พระเจ้าหลวงเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ประดุจเป็นพระพุทธรูปประจำเมือง เคยมีเหตุการณ์ที่พระเจ้าหลวงบอกลางบอกเหตุล่วงหน้าเกี่ยวกับชะตาของเมืองน่าน
นอกจากนั้นรอบๆพระวิหารด้านในยังมีจิตกรรมฝาผนังคล้ายที่วัดภูมินทร์ให้ได้ชมกัน แต่จิตกรรมฝาผนังนี้เลือนลางไปแล้วค่อนข้างมาก
2
วิหารพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2453 เดิมใช้เป็นหอพระไตรปิฎก ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงได้ทำการบูรณะเพื่อใช้เป็นพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย หล่อด้วยทองสัมริดมีทองคำผสม มีความงดงามมาก พระเจ้าลารผาสุมเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ.1969
3
พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ
เป็นปูชนียสถานสำคัญที่เป็นประธานของวัด ตรงแนวตะวันตกด้านหลังวิหารหลวงก่อเป็นเจดีย์สวมพระบรมธาตุไว้ภายใน ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุหลวง สัญฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น ฐานชั้นที่สองเป็นรูปช้างโผล่หน้าลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าคู่ยืนพ้นออกมานอกเหลี่ยมฐาน เฉพาะช้างที่อยู่หัวมุม ประดับเครื่องอลังหารตรงบริเวณตระพองและรอบคอเป็นพิเศษ เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ซ้อนกันสามชั้น และเป็นองค์ระฆังลังกาที่ปรากฏอยู่ทางเหนือทั่วไป เหนือองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้ว ซึ่งลดหลั่นกันขึ้นไป ส่วนตรงยอดทำเป็นปลี ภาษาเหนือเรียกว่า มานข้าว หุ้มด้วยทองจังโก๋สวมยอดฉัตร
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย