วัดภูเขาทอง อยุธยา
เผยแพร่เมื่อ September 2, 2024
วัดภูเขาทองตั้งอยู่บริเวณยุทธภูมิครั้งสำคัญระหว่างกองทัพอยุธยากับกองทัพพม่า ทั้ง 2 ยุคสมัยของการเสียกรุง ตั้งอยู่นอกเกาะกรุงศรีอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารอยุธยากล่าวว่า วัดภูเขาทอง นั้น สถาปนาในรัชสมัยพระราเมศวร หรือสมัยต้นอยุธยา แต่ในคราวสงครามที่พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ามีชัยเหนืออยุธยาในคราวเสียกรุง ครั้งที่ 1 นั้น พระเจ้าบุเรงนองทรงให้สร้างเจดีย์ก่อทับองค์เจดีย์เดิมของวัดแห่งนี้ หลังจากนั้นจึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นมหาเจดีย์ในภายหลัง จึงหลงเหลือส่วนฐานนั้นเท่านั้นที่ยังคงเป็นรูปแบบมอญดังเดิม
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 วัดภูเขาทองได้กลายเป็นวัดร้างเรื่อยา แต่พระมหาเจดีย์ก็ยังเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่มีคนเดินทางมากราบไหว้ ดังเช่นที่ปรากฏเป็น นิราศภูเขาทอง ของ สุนทรภู่ ที่เดินทางมานมัสการขณะบวชเป็นพระภิกษุ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
วัดภูเขาทอง
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Wat Phu Khao Thong
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ที่อยู่ :
ต. ภูเขาทอง
ข้อมูลอ้างอิง :
สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา , wikipedia
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
จากเกาะเมืองอยูธยาไปทางทิศเหนือ ทางหลวงหมายเลข 309 วิ่งตรงขึ้นมาราว 2 กิโลเมตร จะเห็นทางแยกซ้ายเข้าวัด ผ่านวงเวียนพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตรงมาอีกสักนิดก็ถึงวัดภูเขาทอง
กิจกรรมแนะนำ
1
เจดีย์ภูเขาทอง เจดีย์ที่รำลึกถึงคราวเสียกรุงครั้งที่ 1
เจดีย์ภูเขาทอง คาดว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นมหาเจดีย์สูงเด่นในระหว่างรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา (ระหว่าง พ.ศ.2112 – 2246) และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ หรืออยุธยาตอนปลาย มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ 4 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้ง 4 ด้านมีบันไดขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด มีฐานสี่เหลี่ยมขององค์เจดีย์ที่มีอุโมงค์รูปโค้งเข้าไปข้างใน ซึ่งมีพระพุทะรูปประดิษฐานอยู่ 1 องค์ สูงขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆัง บัลลังก์ ส่วนเหนือขึ้นไปที่เป็นปล้องไฉน ปลียอด และลูกแก้วนั้น ของเดิมได้พังไปแล้วตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งได้มีการซ่อมแซมขึ้นใหม่ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2499 ในครั้งนั้น ได้ทำลูกแก้วด้วยทองคำหนัก 2,500 กรัม อันหมายถึง การบูรณะในวาระฉลอง 25 พุทธศตวรรษของไทยนั่นเอง
หากมองจากด้านล่างจะเห็นว่าเจดีย์ภูเขาทองมีลักษณะเอียงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากฐานที่ทรุดลง
2
ซากโบราณสถานอื่นๆภายในวัดภูเขาทอง
เมื่อเดินเข้ามาภายในวัดทางที่ไปหอสวดมนต์จะพบกับโบราณสถานเรียงรายอยู่สองข้างทาง อาทิ วิหารแกลบ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป หรือ เจดีย์ราย เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่เรือนธาตุก่อเป็นซุ้มคูหา สันนิษฐานว่าเพื่อสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
3
ชมตำนานร่องรอยพญานาค
อยู่ชั้นบนของหอสวดมนต์ มีอยู่ด้วยกันสองจุด จุดแรกอยู่ที่หน้่าประตูให้สังเกตที่พื้นและบนฝาผนัง จุดที่สองอยู่ในห้องด้านใน ที่จุดนี้จะเห็นรอยพญานาคบนผนังสีขาวชัดเจนมาก
4
พระพุทธรูปในพระอุโบสถวัดภูเขาทอง
ภายในห้องพระอุโบสถของวัดภูเขาทองจะมีภาพบรรยากาศค่อนข้างอึมครึม พระพุทธรูปในพระอุโบสถนั้นแบ่งออกเป็นสามตอน โดยตอนที่หนึ่งจะพบกับพระพุทธรูปแถวหน้า หลวงพ่อขาว หลวงพ่อเสือ พระพุทธรูปตอนที่สองจะพบกับหรือพระพุทธรูปแถวกลาง 3 องค์ พระศิลปะสุโขทัย รอยพระพุทธบาทจำลอง ด้านล่างใต้รอยพระพุทธบาทคือปู่ฤาษีตาไฟ พระพุทธรูปตอนที่สามจะพบกับองค์พระประธาน หลวงพ่อเชียงแสน
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย