วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี

เผยแพร่เมื่อ August 28, 2024

แหล่งท่องเที่ยวราชบุรี : วัดมหาธาตุวรวิหาร

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองราชบุรี จากประวัติพบว่าวัดมหาธาตุวรวิหารแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี โดยมีศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้นอยู่ที่เมืองคูบัว และได้รับอิทธิพลของศิลปะลพบุรีในช่วงเวลาต่อมา จากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้มีการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้นประกอบด้วย ปรางค์ประธาน และปรางค์บริวาร ด้านข้างด้านละ 1 องค์ ด้านหลัง 1 องค์ ได้รับการบูรณะอีกครั้งในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดมีการย้ายเมืองจึงทำให้วัดมหาธาตุและวัดใกล้เคียงกลายเป็นวัดร้าง ก่อนวัดมหาธาตุจะกลับมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นกลายศูนย์กลางทางด้านพุทธศาสนามีความสำคัญของจังหวัดราชบุรีมาจนถึงปัจจุบัน

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมหาธาตุวรวิหารให้เป็นโบราณสถานระดับชาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มี ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมีจำนวน 7 รายการ ได้แก่ พระปรางค์ ระเบียงคต พระวิหารนอกระเบียงคต กำแพงแก้ว พระมณฑป เจดีย์รายหน้าพระมณฑป และพระอุโบสถ

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดมหาธาตุวรวิหาร

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat MahaThat Worawihan

เวลาเปิด - ปิด :

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น.

ที่อยู่ :

วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง

ข้อมูลอ้างอิง :

เว็บไซต์วัดมหาธาตุวรวิหาร

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

จากกรุงเทพฯ วิ่งเส้นเพชรเกษม มาทางนครปฐม มาทางราชบุรีโดยไม่ต้องเลี้ยวเข้าตัวเมือง ให้ตรงต่อมาทางเส้นเพชรเกษมจนข้ามแม่่น้ำแม่กลอง สังเกตขวามือจะเห็นปั๊มน้ำมันปตท.ฝั่งตรงข้าม เมื่อเลยมาจะเห็นซอยเล็กๆ ทางไปตลาดศรีเมือง ให้เลี้ยวซ้ายเข้่าซอยมาตรงมาตามทางจะพบวงเวียนเล็กๆ ให้วนไปเหมือนเลี้ยวขวา จะเห็นโรงเรียนทางซ่้ายมือ ด้านหน้าคือทางเข้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ

กิจกรรมแนะนำ

1

พระปรางค์วัดมหาธาตุ

เป็นปรางค์เก่าแก่ที่สร้างด้วยอิฐฉาบปูน มีความสูง 24 เมตร  จำลองแบบมาจาก นครวัด สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแหลมสุวรรณภูมิ ปรางค์ประธานและปรางค์บริวาร ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนทางทิศตะวันออกมีมุขยื่นออกมา มีบันไดขึ้นฐานเรือนธาตุและส่วนยอดประดับด้วยลายปูนปั้น ภายในองค์ปรางค์ประธานมีคูหาเชื่อมถึงกัน ผนังส่วนบนเขียนภาพอดีตพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้วเป็นแถวเรียงต่อกัน ตอนล่างเป็นพุทธประวัติ สันนิษฐานว่าเขียนพร้อมกับการสร้างองค์ปรางค์ และซ่อมแซมพร้อมกับองค์ปรางค์ในเวลาต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 22 บริเวณฐานระเบียงมีทางเดินได้รอบลานพระปรางค์ มีเจดีย์ซุ้มทั้งสี่ด้าน

2

พระมงคลบุรี และพระศรีนัคร์ พระประจำเมืองราชบุรี สมัยอยุธยาตอนต้น

พระมงคลบุรี  พระศรีนัคร์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปอยุธยาตอนต้น มีเอกลักษณ์ของพระอู่ทองยุคหลัง เป็นพระพุทธรูปแบบหันหลังชนกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการประดิษฐานพระไว้สี่มุมเมือง เรียกพระรักษาเมือง(พระสี่มุมเมือง) แบบเดียวกับยุคทวารวดี ทางทิศตะวันตกอยู่ที่จังหวัดราชบุรีหรือที่ พระวิหารหลวงในวัดมหาธาตุวรวิหารแห่งนี้ เรียกว่าพระมงคลบุรี หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ด้านหลังสร้างไว้อีกองค์หนึ่งหันหน้าสู่ทิศตะวันตก หันหลังให้กัน ความหมาย คือ อาราธนาให้ช่วยระวังภัยพิบัติหน้าหลัง เรียกพระรักษาเมือง ตามความเชื่อของคนสมัยอยุธยา

ปัจจุบัน พระมงคลบุรี  และพระศรีนัคร์  ได้รับการปฏิสังขรณ์ปิดทอง ในปี พ.ศ. 2555

3

พระพุทธไสยยาสน์

เป็นพระพุทธรูปสร้างในสมัยอยุธยา ความยาวตั้งแต่พระเกตุถึงพระบาท 127 คืบ 9 นิ้ว มีการบูรณะในสมัยเจ้าอธิการแพ ปุณณชาโต เจ้าอาวาสรูปที่ 3 และมีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.2526 พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ในระเบียงคดด้านหน้าปรางค์มหาธาตุ

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย