วัดมิ่งเมือง น่าน

เผยแพร่เมื่อ August 26, 2024

แหล่งท่องเที่ยวน่าน : วัดมิ่งเมือง

วัดมิ่งเมืองเป็นวัดที่อยู่ในตัวเมืองน่าน มีความโดดเด่นด้วยศิลปะปูนปั้นบริเวณรอบพระอุโบสถ นักท่องเที่ยวที่ได้มาชมมักอดไม่ได้ที่จะชื่นชมลายปูนปั้นบริเวณรอบพระอุโบสถของวัดที่ใช้เวลาปั้นลวดลายถึง 5 ปี นอกจากนั้นภายในวัดมิ่งเมืองที่อยู่ในศาลาจตุรมุขนักท่องเที่ยวนิยมมาสักการะเสาพระหลักเมืองประจำจังหวัดเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต

วัดมิ่งเมืองเดิมเป็นวัดร้าง ในปี พ.ศ.2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านได้สถาปนาวัดร้างนี้ขึ้นใหม่และตั้งชื่อวัดใหม่นี้ว่า “วัดมิ่งเมือง” เพราะสาเหตุว่า มีเสามิ่งหรือเสามิ่งเมือง (หรือเสาหลักเมืองในภาษากลาง) ตั้งอยู่ในวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อถอนอุโบสถหลังเดิมทั้งหลังเนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก และได้ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีความวิจิตรงดงามมาก

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดมิ่งเมือง

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat Ming Muang (Ming Muang Temple)

เวลาเปิด - ปิด :

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.

ที่อยู่ :

36 บ้านมิ่งเมือง ตำบลในเวียง

ข้อมูลอ้างอิง :

เทศบาลเมืองน่าน , ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม , สำนักงานพระพุทธศาสนา, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

จากทางหลวงหมายเลข 101 (ถนนยันตรกิจโกศล) ถึงตัวเมืองน่าน เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสุริยพงษ์ ก่อนถึงสี่แยกข่วงเมือง จะเห็นวัดมิ่งเมืองอยุ่ทางด้านขวามือ

กิจกรรมแนะนำ

1

เสาหลักเมืองน่านบนศาลาจตุรมุขวิจิตรงดงาม

เสาหลักเมืองน่าน ตั้งอยู่ในศาลาจัตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ ศาลาจัตุรมุขนี้มีความโดดเด่นลวดลายปูนปั้นสีขาวอันวิจิตรตระการตา มียอดพรหมสี่หน้าเป็นตัวอาคารประดิษฐานศาลหลักเมือง ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองน่านมีความสูงประมาณ 3 เมตร เป็นไม้สักทองเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่ 2 คนโอบรอบ  ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนเมืองน่านในสมัยโบราณเรียกขานว่า เสามิ่งเมือง หรือ เสามิ่ง โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน   โปรดให้ฝังเสาประหลักเมืองน่านลง ณ จุดนี้ เมื่อปีพุทธศักราช  2331 หลังจากที่พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่  1  ณ กรุงเทพฯ และร่วมพระราชทานพิธีฝังเสาพระหลักเมือง กรุงเทพมหานคร พระองค์จึงได้คตินั้นมาฝังเสาพระหลักเมืองน่านขึ้น โปรดให้ฝังเสาพระหลักเมืองน่าน

2

พระอุโบสถวัดมิ่งเมือง

ตัวอาคารของพระอุโบสมีลักษณะเป็นสีขาวเกือบทั้งหลัง เป็นฝีมือของสล่า (ช่าง) พื้นบ้านเมืองน่าน ส่วนส่วนลวดลายปูนปั้น เป็นฝีมือของสล่า (ช่าง) สกุลเชียงแสนโบราณ ซึ่งมีนาย เสาร์แก้ว เลาดี เป็นนายช่างใหญ่มาทำการปั้นลวดลาย ใช้เวลาปั้นประมาณ 5 ปี มีความวิจิตรงดงาม

ภายในอุโบสถได้ทำการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยคุณสุรเดช กาละเสน (จิตรกรพรสวรรค์พื้นบ้านเมืองน่าน) โดยเขียนแบบอนุรักษณ์ภาพโบราณ เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคา เจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย