วัดหนองบัว น่าน

เผยแพร่เมื่อ August 26, 2024

แหล่งท่องเที่ยวน่าน : วัดหนองบัว

วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จากคำบอกเล่าเดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัวซึ่งเป็นหนองน้ำประจำหมู่บ้าน ต่อมาได้มีการย้ายวัดมายังตำแหน่งปัจจุบัน วัดหนองบัวสันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2405 โดยการนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างวัดขึ้นมา

ภายในวัดหนองบัวมีจิตรกรรมฝาผนังทียังคงหลงเหลือยู่และยังคงความงดงาม คาดว่าเป็นศิลปินชาวไทยลื้อเดียวกันกับผู้วาดจิตกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ ส่วนด้านหลังของวัดหนองบัว ยังจีดแสดงบ้านไทยลื้อโบราณเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม และยังเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผาซิ่นทอมือซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อของชาวหนองบัว หากนักท่องเที่ยวมาช่วงกลางวันยังสามารถพังบทเพลงสดๆซะล้อซอซึงจากกลุ่มชาวบ้านที่มีชื่อเสียงด้านการเล่นดนตรีล้านนาท้องถิ่นอีกด้วย

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดหนองบัว

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat Nong Bua

ที่อยู่ :

ตำบลป่าคา

ข้อมูลอ้างอิง :

ป้ายข้อมูลภายในสถานที่ , wikipedia , เว็บไซต์กรมสรรพากร

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

จากตัวเมืองน่านวิ่งมาตามถนนสาย 101 มาทางอำเภอท่าวังผา เมื่อถึงอำเภอท่าวังผา เมื่อผ่านสหกรณ์การเกษตรท่าวังผา ให้เลี้ยวซ้านแล้วตรงไปจนสุดจะเป็นสามแยกให้เลี้ยวซ้ายอีกครั้ง สังเกตป้ายเลี้ยวขวาไปอนสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้าให้เลี้ยวขวาแล้วตรงข้ามสะพานข้ามแม่น้ำน่านจะเจอโรงเรียนบ้านท่าค้ำ ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปอีก 2 ก.ม. จะพบป้ายหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ไปตามถนนหลักเยื้องซ้าย เมื่อผ่านสะพานเล็กๆ วัดหนองบัวจะอยู่ทางขวามือ

กิจกรรมแนะนำ

1

จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ชัดเจน แต่คาดกันว่าเป็นฝีมือของ หนานบัวผัน ศิลปินชาวไทลื้อที่เคยสร้างงานจิตรกรรมที่วัดภูมินทร์ที่อำเภอเมืองน่าน ซึ่งมีภาพที่โด่งดังได้แก่ภาพปู่ม่านย่าม่าน เพราะเมื่อปรียบเทียบภาพจิตรกรรมทั้งสองก็พบความเหมือนทั้งลายเส้น, สีสัน, ใบหน้า และฉากกว่า 40 จุด อีกทั้งยังมีมุมมองและแนวคิดที่ทันสมัย รู้จักนำสีสันมาใช้ เช่น สีแดง ฟ้า ดำ น้ำตาลเข้ม และมีวิธีลงฝีแปรงคล้ายภาพวาดสมัยใหม่

เรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่ พุทธประวัติ และ จันทคาธชาดก ซึ่งเป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณา

การสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรม ประเมินอายุจิตรกรรมว่าคงอยู่ในราวสมัย รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5 เนื่องจากพบภาพเรือกลไฟและรูปทหารชาวฝรั่งที่ผนังด้านทิศเหนือ ตามหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือกลไฟใช้ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่าช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้

จิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สะท้อนความเป้นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเสมือนเปิดโอกาศให้คนดูได้จินตนาการได้อย่างกว้างไกลทำให้รู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ใจคอเบิกบานชอบกล สิ่งสะท้อนจากภาพเขียนที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกาย โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม และปัจจุบันยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของชาวไทลื้ออีกด้วย

2

ชมการขับกล่อมบทเพลงซะล้อ-ซอ-ซึง

ช่วงเวลากลางวันโดยเฉพาะช่วงวันหยุด บริเวณหน้าวัดจะถูกขับกล่อมไปด้วยเสียงเพลงซะล้อ-ซอ-ซึง นำโดยชาวบ้านท้องถิ่น เนื่องด้วยชาวไทยลื้อหมู่บ้านหนองบัวมีความสามารถด้านการเล่นดนตรีพื้นบ้าน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีภาคเหนืออย่าง ซะล้อ ซอ ซึง ขลุ่ย จึงรวมตัวกันอนุรักษ์เพื่อมาขับขานบทเพลงล้านนาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงกลิ่นอายดนตรีแบบชาวล้านนาดั้งเดิม หากใครอยากมาฟังควรมาก่อนเวลา 16:00 นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบสามารถหยอดเงินบริจาคเพื่อสืบสานวัฒนธรรมชุมชนได้ตามสะดวก

3

บ้านโบราณชายไทยลื้อ

หรือ เฮือนไทยลื้อมะเก่า ด้านหลังของวิหารวัดหนองบัว มีการนำเรือนไทยลื้อมาจัดแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาถึงวิถีชีวิตแบบชาวไทยลื้อในอดีต บนเรือนไทยลื้อจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ประจำวันต่างๆให้ได้ชม อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผาซิ่นทอมือซึ่งเป็นสินค้าชุมชนบริเวณวัดหนองบัว

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย