วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี

เผยแพร่เมื่อ August 29, 2024

แหล่งท่องเที่ยวสุพรรณบุรี : วัดไผ่โรงวัว

วัดไผ่โรงวัวเป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นวัดที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2469 แต่แรกเริ่มเดิมทีวัดไผ่โรงวัวเป็นสำนักสงฆ์มาก่อนอยู่ในพื้นที่ดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์ท่านพระครูอุทัยภาคาธร (หลวงพ่อขอม) จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุใน อ. เมืองมาเป็นเจ้าอาวาส

วัดไผ่โรงวัวเป็นวัดที่มีพุทธศาสนิกชนนิยมมากราบไหว้และเยี่ยมเยียนกันอย่างมาก ภายในวัดไผ่โรงวัวมีสิ่งก่อสร้างต่างๆมากมาย อาทิ “เมืองนรกภูมิ” แดนแห่งเปรตและอสูรกาย “พระพุทธโคดม” พระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “พระกกุสันโธ” พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัยทีเห็นได้แต่ไกล สังเวชนียสถานจำลอง “วิหารร้อยยอด” สถาปัตยกรรมศิลปะทรงไทยประยุกต์อินเดีย “เมืองสวรรค์ 3 ชั้น” “มณฑปหลวงพ่อปู่ขอม” กราบพระศพหลวงพ่อขอมที่ไม่เน่าเปื่อย ฯ

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

วัดไผ่โรงวัว

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Wat Phai Rong Wua

เวลาเปิด - ปิด :

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 – 18.00 น.

ที่อยู่ :

118 หมู่ที่ 11 ตำบลบางตาเถร

ข้อมูลอ้างอิง :

ป้ายข้อมูลภายในสถานที่ , องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร , wikipedia , web-pra.com

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

การเดินทาง

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :

  • จากบางบัวทอง วิ่งมาตามถนนสายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (สาย 340) ราว 28 กิโลเมตร จะตรงยาวไปตลอด ผ่านแยกนพวงศ์ ตรงต่อไปเจอทางแยกซ้ายไปอำเภอสองพี่น้อง ให้เลี้ยวซ้ายสิ่ต่อไปตามถนนสาย 3422 ตรงต่อไปราว 14 กิโลเมตร วัดไผ่โรงวัวจะอยู่ทางขวามือ

กิจกรรมแนะนำ

1

สมเด็จพระกะกุสันโธ (พระใหญ่ วัดไผ่โรงวัว)

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยคอรกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 58 เมตร หลวงพ่อขอมเป็นผู้นำและดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2523 บริเวณด้านหน้าองค์พระมีฆ้องใหญ่ที่สุดในโลก ปากกว้างถึง 3 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นได้แต่ไกล

2

เมืองนรกภูมิ แดนแห่งเปรตและอสูรกาย

เมืองนรกภูมิภายในวัดไผ่โรงวัวจำลองสถานที่ความเชื่อเรื่องบาปกรรมเมื่อตายไปต้องตกนรกเพื่อให้เป็นคติสอนใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ ในนรกภูมินั้นเป็นหุ่นปูนปั้นตามนรกขุมต่างๆ อาทิ ปีนต้นงิ้ว กระทะทองแทง อีกาจิก ฯ แต่ละหุ่นมีคำกัำกับอธิบายถึงปากรรมที่ได้ทำ สีหน้าหุ่นผู้ที่ตกไปตายไปนั้นมีความทุกข์ทรมาณแสนสาหัส ตรงกลางมีอสุรกายเปรตสูงกว่าตึกสามชั้น

3

วิหารร้อยยอด (นิโครธารามพุทธวิหาร)

วิหารร้อยยอดเป็นวิหารที่หลวงพ่อขอมสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 ก่อนการสร้างอุโบสถร้อยยอด มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะทรงไทยประยุกต์อินเดีย จัตุรมุข กว้าง 30 เมตร ยาว 54 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งเป็นศิลปะแบบคันธารราฐ หน้าบรรณประดับด้วยทองคำเปลว ส่วนภายนอกมีงานประติมากรรมรูปปั้นฤาษีดัดตนอยู่ในแต่ละด้านทั้ง 4 ทิศ

4

อุโบสถร้อยยอด

โบสถ์ร้อยยอดเป็นอาคารทรงไทยจัตุรมุขมียอดแหลมบนหลังคาจำนวนมาก ด้านในปูด้วยหินอ่อน มีพระประธานประดิษฐานอยู่ด้านในสุด รอบอุโบสถด้านในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังวาดใหม่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา

5

เมืองสวรรค์ 3 ชั้น

บริเวณนี้จำลองปราสาทสามฤดูของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังกลางเป็นปราสาทฤดูหนาวมีความสูงถึงสามชั้น เมื่อเข้าไปจะพบกับรูปปั้นเจ้าชายสิทธัตถะ  สามารถเดินขึ้นไปชั้นบนชมทิวทัศน์วัดไผ่โรงวัวได้ สามารถเห็นสวนตรงประตูเมืองกบิลพัสดุ์ที่อยู่ด้านหลัง ด้านบนสามารถตีระฆัง 9 ครั้งได้

6

สมเด็จพระพุทธโคดม

เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 10.25 เมตร ความสูงรวมบัลลังค์ 26 เมตร เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์หนัก 50 ตัน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512

 

7

จำลองสังเวชนียสถาน 4 ตำบล

สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ตั้งอยู่ภายในวัดไผ่โรงวัว เป็นการจำลองสถานที่ๆเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าให้คล้ายกับที่อินเดียและเนปาล ได้แก่ “ลุมพินีวัน” สถานที่ประสูติ , “พุทธคยา” สถานที่ตรัสรู้ , “สารนาถ” สถานที่ปฐมเทศนา และ “กุสินารา” สถานที่ปรินิพพาน

8

มณฑปหลวงพ่อปู่ขอมมณฑปหลวงพ่อปู่ขอม

ด้านในกราบพระศพหลวงพ่อขอมที่ไม่เน่าเปื่อย พระเกศาของท่านจะยาวขึ้นตลอดเวลา ต้องมีการปลงผมขององค์ท่านอยู่ตลอด

ตามประวัติหลวงพ่อขอมวัดไผ่โรงวัวนั้นเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ชื่อว่า “เป้า” ได้รับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ในวัดใกล้บ้าน ได้รับความรู้สามารถอ่านเขียนภาษาขอมได้อย่างคล่องแคล่ว ฉายาว่า “ขอม” จึงได้ปรากฏขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เมื่อเด็กชายขอมได้ร่ำเรียนจากเมืองหลวงก็ได้กลับมาอุปสมบทที่วัดบางสามได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ “อนิโชภิกขุ” พระขอมหรือท่านอโชภิกษุได้ปฏิบัติตนในในศีลจารวัตรเป็นอย่างดีอยู่หลายปีจนกระทั่งมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “วัดไผ่โรงวัว” ที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านจึงพากันไปนิมนต์พระขอมให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่นไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่ขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี เพื่อไปศึกษาพระปริยัติธรรม เวลาผ่านไป 3 ปี พระขอมก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ จึงกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่ง

9

พระโคนาคม และพระพุทธรูป 500 องค์

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดไผ่โรงวัว ประดิษฐานพระโกนาคมนพุทธเจ้าตามคัมภีร์พุทธวงศ์ รายล้อมด้วยพระพุทธรูป 500 องค์ ใต้ฐานบางองค์น่าจะเป็นที่เก็บอัฐิเพราะมีรูปและชื่อของผู้ล่วงลับไปแล้ว

10

มณฑปหลวงพ่อขอม

มณฑปหลวงพ่อขอมเป็นเรือนรูปสี่เหลี่ยมหลังคาเป็นรูปทรงกรวย สูง 18 เมตร ภายในประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อขอม (อนิโขภิกขุ) สร้างด้วยโลหะ เป็นรูปหล่อหลสงพ่อขอมเหมือนจริงรูปแรกของวัดไผ่โรงวัว สร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาได้มากราบไหว้บูชา

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย