ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
เผยแพร่เมื่อ August 8, 2024
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่คู่ชาวกรุงเทพฯมาเนิ่นนานโดยเฉพาะเยาวชนที่เข้ามาทัศนศึกษาโดยเฉพาะการเข้าชมท้องฟ้าจำลองที่มีเครื่องฉายดาวจากเยอรมันจำลองหมู่ดาวต่างๆที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษามีพันธกิจเพื่อเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้รูปแบบพิพิธภัณฑ์การศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ภายในศูนย์จึงยังมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลายอาคารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพตั้งอยู่ที่เขตเอกมัยใจกลางเมือง ในแต่ละวันจะมีน้องๆเยาวชนเข้ามาทัศนศึกษาเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย
ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ , ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อภาษาอังกฤษ :
Bangkok Planetarium
เวลาเปิด - ปิด :
เปิดให้บริการวันอังคาร - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ที่อยู่ :
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 928 ถนนสุขุมวิท
ข้อมูลอ้างอิง :
www.sciplanet.org / เว็บไซต์มิวเซียมไทยแลนด์
หมายเหตุ :
สถาบันการศึกษาต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้าและไม่สามารถเข้าชมรอบประชาชนทั่วไปได้
สถานะ :
ไม่มีข้อมูล
การเดินทาง
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว :
ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท บริเวณสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย ตรงข้ามเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์สุขุมวิท
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ :
กิจกรรมแนะนำ
1
อาคารท้องฟ้าจำลอง
ค่าเข้าชม :
เด็ก 30 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท
เป็นไฮไลต์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จัดแสดงรอบการแสดงจำลองการเคลื่อนตัวของดวงดาวต่างๆในแต่ละช่วงของปีซึ่งจะหมุนเวียนธีมของการแสดงผลัดเปลี่ยนกันไป ภายในพื้นที่ 270 ตร.ม. จุคนได้ 365 ที่นั่ง มีเครื่องฉายดาว Carl Zeiss Mark IV จากเยอรมัน สามารถแสดงภาพดวงดาวบนท้องฟ้าของประเทศใดก็ตาม ตามวันและเวลาที่ต้องการ โดยมีความสามารถฉายดาวฤกษ์ได้ 9,000 ดวง, ฉายดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ 5 ดวง เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวต่างๆ, ฉายภาพกลุ่มดาว ทางช้างเผือก กระจุกดาว ดาวหาง ดาวตก เมฆ แสงรุ่งอรุณ แสงสนธยา, แสดงการเกิดสุริยุปราคา จันทรุปราคา เส้นศูนย์สูตร เส้นสุริยวิถี เส้นเมอริเดียน ระบบสุริยะ และโลกหมุนรอบตัวเอง
ติดกับอาคารท้องฟ้าจำลองคือหอดูดาว เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีฐานกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร สูง 20 เมตร เป็นสถานที่ตั้งกล้องโทรทรรศหักเหแสงคูเด้ ซึ่งมีเลนส์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร โดยมีโดมโลหะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.70 เมตร ครอบอยู่
2
ชมส่วนอาคารนิทรรศการจัดแสดง
ค่าเข้าชม :
เด็ก 30 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท
อยู่ภายในบริเวณศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา แบ่งออกเป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้เยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
นิทรรศการอาคาร 2 จัดแสดงดาวเทียมธีออส ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรต่างๆ หลักการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ส่วนศึกษาสภาวะไร้แรงดึงดูด พลังงานศักย์และพลังงานจลน์ โลกและระบบสุริยะ นิทรรศการจัดการแสดงเรื่องราวการสำรวจอวกาศของมนุษย์ ดาราศาสตร์ การกำเนิดจักรวาล ระบบสุริยะจักรวาลและโลก
นิทรรศการอาคาร 3 จัดแสดงนิทรรศการมหัศจรรย์ชีวิตในสายน้ำ รู้จักกลุ่มปลาหายากและใกล้สูญพันธ์ ปลาเศรษฐกิจ ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม
นิทรรศการอาคาร 4 จัดแสดงนิทรรศการไดโนเสาร์ รู้จักไดโนเสาร์ไทย วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จักสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในแต่ละยุค ความหลากหลายของพืช ปฏิบัติการทดลองมองผ่านเลนส์/กล้องจุลทรรศน์ ความลับของสิ่งมีชีวิต การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตต่างๆตั้งแต่ระดับเซลล์ ความรู้เกี่ยวกับแมลง ประสาทสัมผัสทั้งห้าของมมุนษย์ ธรณีวิทยาและชีววิทยาต่างๆ
3
นิทรรศการพลังงานแสงอาทิตย์
ค่าเข้าชม :
เด็ก 30 บาท / ผู้ใหญ่ 50 บาท
ตั้งอยู่อาคารที่แยกออกมาต่างหาก เป็นอาคารขนาดเล็กจัดแสดงนิทรรศการประกอบด้วยความรู้เบื้องต้นเรื่อง เซลล์แสงอาทิตย์ และประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถเรียนรู้หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าและระบบการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งแบบอิสระ แบบต่อกับระบบสายส่งและแบบผสมผสาน อีกทั้งมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่หลากหลาย รวมถึงรู้จักกระบวนการผลิตแสงอาทิตย์แบบต่างๆ นอกห้องนิทรรศการ มีตัวอย่างการใช้งานจริงของสัญญาณไฟเตือนภัยด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
หมวดหมู่
รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย