สะพานรัษฎาภิเศก ลำปาง

เผยแพร่เมื่อ November 8, 2024

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง : สะพานรัษฎาภิเศก ลำปาง

สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง โดยเจ้าผู้ครองนครหรือเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต  เจ้าของนครลำปางองค์สุดท้าย เป็นผู้ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเศก ถือเป็นแลนด์มาร์คของจังหวัดลำปาง มักจะพบเห็นบนรูปต่างๆ ในอดีตเป็นสะพานทางการค้าและเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของลำปาง นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปบริเวณกับสะพานแห่งนี้ และยังเป็นสะพานที่ชาวลำปางใช้สัญจรเป็นปกติ

ประวัติของสะพานรัษฎาภิเศก

สะพานรัษฎาภิเศกรุ่นแรกนั้น จะเป็นเพียงสะพานไม้พื้นเมืองธรรมดา มีความยาว 120 เมตร ถือเป็นสะพานขนาดใหญ่ จัดสร้างขึ้นเพื่ออุทิศทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเป็นที่ระลึกในงานราชพิธีรัชดาภิเศก รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2436) และด้วยความที่จังหวัดลำปางในสมัยนั้นเป็นศูนย์กลางทางการค้า โดยเฉพาะการค้าไม้ ในช่วงฤดูที่น้ำหลาก ได้มีท่อนซุงไหลลอยมาตามน้ำเป็นจำนวนมากและได้ชนเข้ากับสะพานแห่งนี้จึงทำให้สะพานไม้แห่งนี้พังทลายลงมา ใน พ.ศ.2444 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตจึงได้มีจดหมายไปถึงกระทรวงมหาดไทย ขอพระราชทานเงินมาสร้างสะพานขึ้นใหม่ และสะพานที่สองนั้นก็ได้สร้างขึ้นเป็นสะพานไม้เสริมเหล็ก แต่ก็ได้พังลงอีกเมื่อ พ.ศ. 2448 เพราะปัญหาเดิมและได้ผุกร่อนไปตามเวลา จึงได้มีการเสนอขึ้นไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ว่าควรที่จะทำแบบแฟโรกอนกริต และพระองค์ก็ทรงเห็นด้วยเนื่องจากมองว่าการสร้างด้วยคอนกรีตนั้นจะมั่นคงกว่าและใช้ได้ในระยาว จึงได้มีการสร้างสะพานที่สามใน พ.ศ. 2459 โดยมีพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้ควบคุมดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดสะพาน สะพานรัษฎาภิเศก รุ่นที่สามนี้ก็ได้สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2460 เป็นสะพานคอนกรีตที่เสริมเหล็กทาสีขาวมีรูปทรงโค้งคันธนูรวม 4 โค้ง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางในปัจจุบัน และเรื่องที่น่าทึ่งคือสะพานแห่งนี้นั้นเคยรอดพ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย

สะพานรัษฎาภิเศก

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Ratsada Phisek Bridge

ที่อยู่ :

ถนนรัษฎา ตำบล เวียงเหนือ

ข้อมูลอ้างอิง :

โบรชัวร์ , เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , เว็บไซต์จังหวัดลำปาง

สถานะ :

ไม่มีข้อมูล

รวมแหล่งท่องเที่ยวและภาพถ่ายทั่วไทย